Brand Spotlight: Tepa Foods โดย Bitesizebkk.co
เวลาเดินเข้าไปในซุปเปอร์ สังเกตมั้ยคุณมักเดินผ่านโซนเครื่องปรุงไทยไปเลย ทำไมสินค้าต่างประเทศ (เช่นซอสญี่ปุ่น ซอสเกาหลี) ถึงน่าดึงดูดใจมากกว่า อาจเป็นเพราะการตลาด การออกแบบหรือแบรนด์ดิ่งนั่นเองที่ทำให้โซนสินค้าไทยไม่น่าตื่นเต้นเท่าสินค้าต่างประเทศ
นี่คือสิ่งที่แบรนด์ เทพา แบรนด์ของคนไทยต้องการจะผลักดัน
ทีม Bitesizebkk.co ได้มีโอกาสพูดคุยถึงกับคุณ ภัณฑิลา เทพาคำ (คุณเตย) เจ้าของ เทพา ถึงเป้าหมายในการทำให้วัตถุดิบไทยเป็นที่รู้จักและน่าหลงใหลในสากล ด้วยผลิตภัณฑ์อาหารและแนวคิดพร้อมลงมือทำของเธอ
ที่มาที่ไป
คุณเตยบอกเราว่า “ก่อนที่จะมาเป็น เทพา เรามีแบรนด์ชื่อ PROMPTKIN มาก่อน เริ่มโดยคุณพ่อในปี 2011 ค่ะ Promptkin เริ่มจากสินค้า 1 ตัวคือปลาเค็มทอดแล้วแพ็คสุญญากาศ พร้อมกินสมชื่อ”
สินค้าขายได้ในกลุ่มคนชอบทานปลาเค็ม แต่ยอดขายไม่โตก้าวกระโดด แต่ขายได้เรื่อยๆ คุณเตยบอกเราว่าจำนวนขายอยู่ที่ประมาณ 50 ชิ้นต่อเดือน ซึ่งสินค้ามีวางขายที่ Villa และ Foodland เท่านั้น
คุณเตยเริ่มเข้ามาลงมือทำธุรกิจนี้ในปี 2017 และได้โฟกัสในจุดแข็งของแบรนด์คือการทำสินค้าอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นานโดยยังคงความอร่อยเหมือนเพิ่งปรุงสดใหม่
เธอขยายช่องทางการขายโดยการเอาสินค้าเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตเพิ่ม เช่น ท็อปส์ และ Gourmet market และเพิ่มช่องทางการขายโดยการสร้าง Brand Presence ในโลกออนไลน์ ผ่าน Social Media, Lazada และ Shopee
คุณเตยต้องการผลักดันสินค้าของเธอให้ไปอยู่บนเวทีโลก ด้วยวัตถุดิบที่คุณภาพสูง การออกแบบที่น่าดึงดูด และตัวสินค้าเองที่สามารถเก็บได้นานโดยไม่ใส่สารกันบูด วิสัยทัศน์นี้คือการทำให้คุณเตย เร่งสร้าง ecosystem ของสินค้าสำหรับบริษัท เทพา
“หลังจากที่เตยได้เข้ามาทำงานเต็มตัวในบริษัทเทพาเตยได้สร้างสินค้าตัวที่ 2 คือ สามเกลอเสมอใจ (Thai Trio Cooking Paste) เพราะเห็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรและเครื่องเทศไทย”
Mission ของแบรนด์คือการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบไทย ทำให้คนรู้จักและเข้าถึงวัตถุดิบที่อาจจะยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากหรือไม่ได้หาซื้อได้ง่าย
“สามเกลอเสมอใจ คือ เครื่องปรุงที่ทำมาจาก รากผักชี กระเทียม พริกไทย เครื่องปรุงสำเร็จรูปสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ทำอาหารบ่อย อาจไม่คุ้นเคย หรือไม่เคยคิดจะทำเอง”
สำหรับคนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ สินค้าอย่างสามเกลอเป็นสินค้าที่ต้องให้แม่ครัวที่บ้านทำและหอบหิ้วไปเมืองนอกตอนไปเรียนต่อ เป็นสิ่งที่ต้องมีติดครัวในอพาร์ทเมนท์ (นี้ก็ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มลุกค้าของเราในปัจจุบัน)
“ความพิเศษของ เทพา สำหรับเตย คือ แรงบันดาลใจที่มาจากคุณยายค่ะ คุณยายเป็นคนที่ให้คุณค่ากับวัตถุดิบและที่มาของอาหารมากๆ เวลาฟังคุณยายพูดถึงอาหารและรู้สึกได้ถึงความรัก หลงไหล และเอาใจใส่ ความตั้งใจของเตยคือการเอาวัตถุดิบที่อาจจะถูกลืมหรือไม่ได้ถูกพูดถึง มาทำให้คนรุ่นใหม่สนใจและเห็นคุณค่า”
3-in-1
ชีวิตประจำวันของคนเมืองในยุคปัจจุบัน ไม่ได้แบ่งเวลา work-life balance ได้ง่ายๆ การจะ balance เวลาทำงาน เวลาพบปะเพื่อน เวลาพัก ก็หมดวันแล้ว การทำอาหารจึงกลายเป็นงานอดิเรก มากกว่าการดำรงชีวิต และ เทพา ต้องการเป็นสินค้าที่เข้าไปตอบโจทย์ในจุดนี้
ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบที่จะทำอาหารนานๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ทำออกมาแล้วอร่อยเสมอ สามเกลอเสมอใจ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่แค่คุณมี ไก่ 1 ชิ้น และ กระทะ 1 อัน ก็สามารถทำอาหารที่อร่อยได้
“ชีวิต 3-in-1 หรือ ความสะดวกสบาย in 1 เลยเป็นสิ่งที่คนมองหา ความตั้งใจของเทพาคือการทำให้ลูกค้าที่ทำอาหารเป็น hobby ไม่ต้องเสียเวลาไปหาซื้อวัตถุดิบหลายอย่างแต่ให้มีความสุขกับช่วงเวลาทำอาหารจริงๆ”
คอนเซ็ปของการประหยัดเวลาเลยกลายเป็นสิ่งที่คนมองหาในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์อะไรที่ช่วยให้คนประหยัดเวลาได้จึงกลายเป็นจุดขายสำคัญ การซื้ออาหารพร้อมทาน พร้อมปรุง ออนไลน์ทั้งประหยัดแรงและเวลาที่คนต้องออกไปนอกบ้านได้มาก
จาก 2017 ถึงปัจจุบัน เตยทำให้ Promptkin กลายเป็นแบรนด์อาหารพร้อมทานที่เตยภูมิใจและลูกค้าชื่นชม และต่อยอดมาที่แบรนด์เครื่องปรุงเทพา เตยสนใจในการใช้วัตถุดิบท่องถิ่น ทำให้คนเข้าถึงและเข้าใจสมุนไพรและเครื่องเทศไทยมากขึ้น
The Tepa Ecosystem
จากสินค้าปลาเค็มตัวเดียวในปี 2011 สู้ บริษัท เทพา บริษัทอาหารที่เน้นรสชาติของวัตถุดิบจากธรรมชาติ เป็นการเติมโตที่น่าชื่นชม
“เรามองตัวเองเป็นแบรนด์อาหารที่เน้นวัตถุดิบ เน้นรสชาติ โดยการแบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่พร้อมกิน และกลุ่มที่ชื่นชอบในการทำอาหาร”
ปัจจุบันมี 2 แบรนด์ภายใต้บริษัทเทพา แบรนด์ Promptkin เป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน และแบรนด์ เทพา จะมีสินค้า เครื่องปรุง ซอส และ น้ำพริก ซึ่งมีสินค้าเพิ่มเป็น ซอสปลาเค็ม สำหรับผัด และ ซอสหมัก
เราสินค้าทุกตัวของเราใช้วัตถุดิบท้องถิ่น โดยเน้นย้ำเรื่องการทำให้วัตถุดิบที่อาจจะไม่ได้นิยมมากเป็นที่รู้จักมากขึ้น
หนึ่งในตัวอย่างคือ แกงคั่วเห็นเผาะ (ของโปรดของ bitesize) เป็นเมนูที่ไม่ได้หาทานได้ง่ายๆ เห็ดเผาะเป็นเห็ดภาคเหนือที่ขึ้นตามธรรมชาติในหน้าฝน แต่ PROMPTKIN เอาวัตถุดิบนี้มาทำแกงสำเร็จรูปให้มีทานตลอดปี แค่แกะออกจากซองอุ่น 1-2 นาทีก็จบ เป็นการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและเทคโนโลยีอาหารที่ทำให้อาหารเก็บได้นาน
“สิ่งที่เราค้นพบท่ามกลางวิกฤตโควิด คือคนหันมาสนใจทำอาหารมากขึ้น และยอดขายของเครื่องปรุงที่โตขึ้น เราจึงมุ่งหน้าจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้”
The Online Experiment การทดลองออนไลน์
ความท้าทายที่คุณเตยเจอไม่ใช่แค่การทำให้คนทั่วไปรู้จักวัตถุดิบที่อาจจะไม่คุ้นชิน แต่ยังมีเกี่ยวกับการทำมาเก็ตติ้งให้กับสินค้า และการหาช่องทางทำหน่าย
Brand Visibility เป็นจุดสำคัญในการทำแบรนด์และสินค้าให้เป็นที่รู้จัก
“ตลาดอเมริกาเป็นตลาดต่างประเทศอันดับแรกที่เราส่งออกไป ทั้งให้คนไทยและเริ่มมีชาวต่างชาติที่สนใจในการทำและทานอาหารไทย”
ปัจจุบันบริษัท เทพา มียอดขาย 60% จากช่องทางออฟไลน์ และ 40% จากช่องทางออนไลน์ คุณเตย เริ่มเห็นการเติบโตของการส่งออกไปต่างประเทศ
การให้ความสำคัญในด้านการทำแบรนด์ บรรจุภัณฑ์ และ User-Generated Content จากลูกค้าผู้ใช้จริง ทำให้เทพาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆได้
การสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จใน Digital Age คือการใช้ data เพื่อดูพฤติกรรมของลูกค้าและเข้าใจความต้องการ
อะไรต่อ?
ความตั้งใจสูงสุดของคุณเตยคือการทำให้อาหารไทยและวัตถุดิบไทยเป็นที่รู้จักและต้องการในต่างประเทศ
“คนไทยชอบและยอมที่จะจ่ายราคาที่แพงกว่าให้กับสินค้าน้ำเข้า เตยอยากทำให้คนต่างประเทศยอมที่จะจ่ายราคาที่แพงกว่าสำหรับสินค้าไทย และ ทำให้ความสะดวกและสุขภาพไปด้วยกัน”
“นอกจาก B2C ที่เราทำอยู่แล้วในปัจจุบัน เรามีแผนที่จะเข้าตลาด B2B โดยต้องการเข้าไปเจาะกลุ่มร้านอาหาร สินค้าเราสามารถลดภาระในการสต็อกของสดและย่นเวลาในการเตรียมวัตถุดิบ แถมยังสามารถเก็บได้นานขึ้น และลด food waste ให้กับร้านอีกด้วย” เทพาไม่ได้อยากเป็น me too แบรนด์ หรือแบรนด์ที่มีสินค้าเหมือนคนอื่น แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจน สินค้าของเราตั้งใจทำมาเพื่อไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และรสชาติที่อร่อยถูกปากคนทุกวัย (ถ้าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ลองชิมสินค้าของเรา เช่นแกงสำเร็จรูป แล้วบอกว่าผ่าน ถึงเครื่องแกง เราถึงเอาสินค้าออกมาขาย ไม่งั้นก็จะปรับจนกว่าจะได้) ด้วย mission ที่จะหยิบชูวัตถุดิบไทยเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกและเข้าถึงได้ เราเชื่อว่าแบรนด์สามารถดีต่อสังคมและดีต่อธุรกิจควบคู่กันไปได้